เมื่อวาน ได้อ่านข้อความที่มีคนแชร์ผ่าน Line เกี่ยวกับเรื่องบุญ เลยทำให้เข้าใจว่า หากเราจะต้องทำบุญเราจะต้องไปทำที่วัด ไปถวายปัจจัยต่อพระ หรือทำอะไรเกี่ยวกับวัดเท่านั้นหรือ จึงจะได้บุญ เมื่อได้บุญจากการบุญดังกล่าว จะทำให้เรามีความสุข ได้สมปรารถนาในสิ่งที่ต้องการ แม้ว่าจะไม่ได้ในชาตินี้ สะสมบุญไปรวมกับชาติหน้าก็ยังดี เผื่อเราจะได้รวย จะได้ถูกหวย จะได้มีทรัพย์สินเงินทอง สุขภาพแข็งถ้าเราทำบุญ
ดูเสมือนว่า เราจะตีกรอบคำว่าบุญ การทำบุญแคบไปหรือเปล่า แล้วจริงๆคำว่าบุญ มันคืออะไรหากจะทำความเข้าใจเรื่องบุญ จะต้องรู้ความหมายของคำว่าบาปด้วย
การทำบาป หมายถึง การกระทำการใดๆก็ตาม ที่จะก่อหรือส่งผลให้การเบียดเบียน เกิดทุกข์ ต่อผู้อื่นและตนเอง รวมถึงทำลายความสมัครสมานสามัคคีผู้อื่น ผ่านการกระทำทางกาย ทางวาจารวมถึง การประกอบอาชีพด้วย เพราะการประกอบอาชีพที่ไม่ใช่สัมมาชีพ ล้วนสร้างความทุกข์ด้วย บางอาชีพแม้ดูเสมือนสัมมาชีพ แต่มีโอกาสเอารัดเอาเปรียบ เอากำไรเกินจริง ก็ไม่ใช่สัมมาชีพ การกระทำเหล่านี้เรียกว่า การทำบาป คนที่กระทำการสร้างความทุกข์ให้ผู้อื่นได้ จิตใจย่อมเต็มไปด้วยกิเลส เป็นบาป เป็นคนมีบาป จิตใจก็จะเต็มไปด้วย ความทุกข์ เมื่อใจทุกข์ส่งผลให้ร่างกายทุกข์ด้วยคือการเจ็บป่วยทางกายก็จะตามมาได้ง่าย ความมีสง่าราศีก็ไม่มี คนเช่นนี้เรียกว่า คนบาป
การทำบุญ หมายถึง ก็จะมีความหมาย ตรงข้าม หมายถึงการกระทำการใดๆ ที่ส่งผลให้เกิดความสงบสุข ความสมัครสมานสามัคคีของผู้อื่นและตนเอง คนเช่นนี้ย่อมมีจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วย ความเมตตา กรุณาเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เป็นการกระทำที่อยากให้ผู้อื่นมีสุข และตนเองย่อมจะมีความสุข ความสงบในจิตใจด้วย หน้าตาก็จะดูสดใจ เบิกบานจากข้างใน สุขภาพก็จะดี คนเช่นนี้เป็น คนมีบุญ
การนำปัจจัยถวายพระหรือทำอะไรเกี่ยวข้องกับพระและวัดเป็นสิ่งที่ดีมากที่จะช่วยทำให้ผู้สืบทอด ผู้ถ่ายทอดศาสนาของเราได้ดำรงอยู่ได้ เราทำด้วยความเข้าใจ โดยไม่มีศรัทธาที่มืดบอด ไม่ทำด้วยกิเลสนับว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก เป็นการทำบุญ หากเราถวายหรือทำอะไรต่อพระ โดยหวังผลว่า เราจะได้สิ่งตอบแทน ได้ลาภ ได้ถูกหวย ได้ตำแหน่งใหญ่โต ก็เป็นกระทำด้วยกิเลส เราก็จะได้กิเลสกลับไป แทนที่จะได้บุญ การทำบุญจึงมิได้จำกัดขอบเขตว่าจะต้องกระทำต่อพระหรืออะไรต่อวัดเท่านั้น เราสามารถกระทำการใดๆที่เป็นการช่วยเหลือผู้อื่น สังคม และตนเองให้พ้นทุกข์หรือเป็นการให้ที่ยังประโยชน์ต่อผู้รับจริงๆ ก็ล้วนแต่เป็นการทำบุญทั้งสิ้น
ทำบุญมาก ทำบุญน้อย ทำบุญแล้วได้กุศล หรือไม่ได้กุศล การทำบุญด้วยปัจจัย ทำมากได้บุญมาก ทำน้อยได้บุญน้อยหรือเปล่า เราทำบุญก็เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น อยากเห็นผู้อื่นได้พ้นจากปัญหา พ้นจากทุกข์ ด้วยใจอยากจะช่วยจริงๆ หากเราให้เป็นเงิน หรือวัตถุสิ่งของ เราให้มากจะได้บุญมากหรือเปล่า ให้น้อยได้บุญน้อยหรือเปล่า
หากเราบริจาคหรือให้เป็นเงิน เป็นสิ่งของ เป็นล้านๆ เป็น 10-100 ล้านบาท เวลาในการตัดสินใจที่จะให้เพียงแค่ไม่กี่นาที ช่วงนั้นใจเป็นกุศล เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลที่ปรารถนาดี คอยช่วยเหลือผู้อื่น ในขณะที่ทำการช่วยที่ติดต่อ ต่อเนื่องกันนานๆ อย่างสม่ำเสมอ ต้องใช้จิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมีกุศลจริงๆต่อเนื่องยาวนาน บุญหรือกุศลที่เกิดขึ้นการกระทำด้วยใจที่ปรารถนาดีที่ต่อเนื่องยาวนานอย่างนี้ย่อมเกิดเป็นบุญอย่างมาก ดังนั้นปริมาณบุญจึงไม่ได้เกิดจากปริมาณวัตถุสิ่งของของผู้ให้ แต่ขึ้นอยู่กับจิตใจผู้ให้ที่ปรารถนาช่วยผู้อื่นด้วยใจเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้อื่นๆต่างหาก อันนี้ได้กุศล เพราะเป็นการขจัดกิเลศ หากทำบุญแล้วหวังสิ่งตอบแทน หวังถูกหวย หวังประโยชน์จากผู้รับ จะได้บุญคือความสบายใจ แต่ไม่ได้กุศลหรือไม่ได้กำจัดกิเลส
การให้ ถวายปัจจัยต่อสิ่งที่คิดว่าสิ่งศักดิ์สิทธ์ เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ทั้งหลายอย่างเหลือเฟือ เพราะเราศรัทธา เพราะเราคิดว่าเราจะได้บุญ เพราะเราอยากได้สิ่งตอบแทน เราอยากถูกหวย เราอยากเลื่อนขั้น เราอยากประสบผลสำเร็จ เราเลยเอาปัจจัยมาแลก เพื่อผลลัพธ์ มาสู่ตนเอง เป็นการกระทำเพื่อเพิ่มกิเลส การกระทำเหล่านี้อาจจะช่วยในผลทางจิตใจอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ใครพ้นทุกข์ ไม่ได้เพิ่มความสมัครสมานสามัคคี การกระทำเหล่านี้แม้จะมีส่วนดี ก็ไม่ถือว่าเป็นการทำบุญ เป็นกระทำด้วยศรัทธาอันมืดบอด
การศรัทธาด้วยมืดบอด หมายถึง การให้ความเคารพ เลื่อมใสต่อบุคคล ต่อสิ่งที่คิดว่าศักดิ์สิทธิ์ แล้วตอบแทนด้วยการให้ปัจจัย ข้าวของเงินทองต่างๆ การศรัทธาที่ดี เราควรจะศรัทธาที่คุณความดีของบุคคล เราจะต้องรู้ว่าคุณความดี ความเป็นคนมีบุญของเขาทำบุญอะไรบ้าง (สิ่งที่คิดว่าศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ใช่บุคคลกระทำคุณความดีไม่ได้ บุคคลทำได้) แล้วเราเอาความดีเหล่านั้นมาเป็นแบบอย่าง มายึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางการทำบุญ แทนที่จะเคารพเลื่อมใสด้วยการแสดงบูชา ด้วย ธูป เทียน ดอกไม้ แล้วกราบ 1-15 ครั้ง เราจะต้องเคารพเลื่อมใสในความดีที่บุคคลนั้นกระทำและเคารพเลื่อมใสต่อบุคคลที่กระทำความดีแล้วนำมาเป็นแบบอย่าง อย่างนี้จึงจะเรียกว่ามีศรัทธาที่ไม่มืดบอด
ทีมข่าว ประชาไทนิวส์ออนไลน์ ติดตามต่อ ตอน 2