ผมก็เลยอยากจะบอกให้ทราบกันทุกคนนะครับว่า กษัตริย์มีไว้ทำไม?
จะพยายามเขียนแบบสั้นๆละกัน เพราะว่าถ้ามาversion เต็มๆ คงต้องใช้เวลาในการอ่านกันหลายวัน การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ นอกจากในตำราแล้ว (ที่ใครอาจบอกว่ามีการแต่งเติม) เราสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก สถานที่จริง ,โบราณวัตถุ , ตลอดจนหลักฐานและบุคคลอ้างอิงต่างๆได้ครับ
@รัชกาลที่๑ ท่านทรงครองราชย์ ๒๗ ปี กว่าๆครับ ท่านทรงทำอะไรให้พวกเราไว้บ้าง?
-ท่านรักษาเอกราชให้พวกเราครับ สงครามแรกของกรุงเทพ ก็คือสงครามเก้าทัพ ที่พม่าแห่กันมาเพียบเพื่อมาตี กรุงเทพ ให้เป็นเมืองขึ้น แต่พม่าก็แพ้ ร.๑ กลับไป ในสมัยของท่าน พม่ายกมาตีหลายรอบนะครับ แต่ก็แพ้กลับไปทุกที
–ท่านสร้างวัดพระแก้ว ไว้ให้พวกเรา (ช่วงก่อนโควิทมีนักท่องเที่ยวมาเยือนวันละ 2-3หมื่นคน สร้างรายได้เท่าไรคูณเอานะ)
–ท่านโปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ.๒๓๓๑ และจารฉบับทองประดิษฐานไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
–ท่านทรงฟื้นฟูวรรณคดีไทยซึ่งเสื่อมโทรมตั้งแต่ยุคกรุงแตกให้ ให้กลับคืนดีอีกวาระหนื่ง
–ท่านทรงบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้าง พระอารามเป็นจำนวนมาก เป็นการเปิดโอกาสให้ช่างฝีมือด้านต่างๆ มีงานทำ
(ยกตัวอย่างแค่นี้พอก่อนนะ เดี๋ยวจะยาว นี่แค่ร.๑ เอง)
@รัชกาลที่๒ ทรงครองราชย์เกือบ ๑๕ ปี
–ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ด้านการดนตรี แต่ที่โดด เด่นที่สุดเห็นจะเป็นในด้านวรรณคดี
-ยุค ร.๒ ถือเป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ละครรำ รุ่งเรืองถึงขีดสุด ด้วยพระองค์ทรงเป็นกวีเอก และทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเล่มด้วยกัน เช่น รามเกียรติ์ตอนลักสีดา วานรถวายพล พิเภกสวามิภักดิ์ สีดาลุยไฟ
@รัชกาลที่๓ ทรงครองราชย์ ๒๖ปีกว่าๆท่านคือพระบิดาแห่งการค้าไทย
-ท่านทรงโปรดให้เปิดการค้าขายกับต่างประเทศ เงินถุงแดงของท่าน(ในถุงเป็นเงินประเทศเม็กซิโก) เป็นเงินกู้ชาติที่ ร.๕ ใช้เป็นค่าไถ่ประเทศไทยจากฝรั่งเศสครับ
–ทรงโปรดให้สร้างป้อมปราการตามหัวเมืองสำคัญและ ตามชายฝั่งทะเล ตลอดจนต่อเรือรบเรือกำปั่นไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก (เหมือนจะทรงรู้ว่าฝรั่งเศสจะมาบุกในสมัยร.๕)
–ทรงขุดคลองไว้เยอะเช่นคลองบางขุนเทียน
–ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามเป็นจำนวนมาก โปรดให้มีการสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ และโปรดให้จารึกตำราต่างๆ ๘ หมวดบนแผ่นศิลา ประดับไว้ในวัดพระเชตุพนฯ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ถือได้เลยว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศเลยหละ
@รัชกาลที่๔ ทรงครองราชย์ ๑๗ปีกว่าๆ
–ทรงเป็นพระบิดาแห่งการทูต ท่านทรงติดต่อกับนานาอารยประเทศ เห็นได้จากการ ที่ประเทศต่างๆ ส่งคณะทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี และติดต่อค้าขาย และพระองค์ได้ทรงแต่งคณะทูต ออกไปเจริญสัมพันธไมตรีตอบแทนหลายครั้ง เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา โปรตุเกส เดนมาร์ค ฯลฯ
–ทรงสนับสนุนให้มี การศึกษาศิลปวิทยาการใหม่ๆ เช่น วิชาการต่อเรือใบ เรือกลไฟ เรือรบ การฝึกทหารอย่างยุโรป
–ทรงให้ตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นเพื่อผลิตเหรียญเงินขนาดต่าง ๆ ใช้แทนเงินพดด้วง ประกาศพิกัดอัตราแลกเปลี่ยนเงินเพื่อช่วยให้การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าได้คล่องและเป็นสากลขึ้น
–ทรงประกาศ กฎหมายต่าง ๆ ออกมา เป็นจำนวนมากเพื่อความผาสุก และให้ความเป็นธรรมแก่อาณาประชาราษฎร์ เช่นการลดภาษีอากร ลดหย่อนค่านา และอีกเยอะ
@รัชกาลที่๕ ท่านครองราชย์ ๔๒ปี
ผลงานที่สำคัญของท่าน
-ทรงเลิกทาส การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะเป็นผลสำเร็จได้ ต้องทำให้คนไทยได้เป็นไทเสียก่อน พระองค์จึงได้ทรงดำเนินการเลิกทาสโดยมิให้กระทบกระเทือนถึงเจ้าของทาสและทาส ด้วยพระราชหฤทัยแน่วแน่และทรงพระราชอุตสาหะอย่างยิ่ง ใช้เวลาถึง๓๐ปี ก็ทรงเลิกทาสสำเร็จลงตามพระราชปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้
–ทรงได้รับยกย่องว่าเป็นนักปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศ จากแบบเก่ามาสู่แบบใหม่
–ทรงยกเลิกการไต่สวนพิจารณาคดีแบบจารีตนครบาลมาเป็นการไต่สวนพิจารณาคดีในศาลแบบปัจจุบัน
–ทรงจัดการศึกษาแผนใหม่ ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นทั้งในพระบรมมหาราชวังและตามวัดต่างๆ
–ทรงโปรดให้ปรับปรุงการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น การประปา การรถไฟ และการไปรษณีย์-โทรเลข
–ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ
–ทรงปรับปรุงระบอบการปกครองโดย เสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้านเช่นสิงคโปร์ และอินเดีย เพื่อศึกษาการปกครองแบบตะวันตกที่นำมาประยุกต์ใช้ได้ในประเทศตะวันออก เพื่อปรับปรุงการปกครองของไทยให้ทันสมัย โดยทรงแบ่ง ส่วนราชการการบริหาร และราชการส่วนกลางเป็น ๑๒กระทรวง
-การเสด็จประพาสต้น เป็นการเสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างง่ายๆ โดยมิให้ใครรู้จักพระองค์ ทำให้ได้ประทับปะปนในหมู่ประชาชน ทรงทราบทุกข์สุขจากปากประชาชนโดยตรง ทำให้ได้ทรงแก้ไขปัดเป่าความทุกข์ยากให้ ราษฎรของพระองค์ได้ผลโดยตรง (อันนี้ยกมาเป็นตัวอย่างแบบรวบรัดครับ ลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ แล้วจะรักท่านมากครับ)
@รัชกาลที่๖ ครองราชย์ ๑๕ ปีกว่าๆ
ผลงานที่สำคัญๆ ของพระองค์
–การศึกษาของชาติเจริญก้าวหน้ามาก ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
–การพระศาสนาเจริญสูงขึ้น ทรงทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม และขยายการศึกษาของสงฆ์ให้กว้างขวาง
–การคมนาคม เช่น การรถไฟ สะดวกสบายขึ้นมาก
–ทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศได้ อย่างถูกต้อง เห็นการณ์ไกล โดยทรงนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่๑ ส่งทหารเข้าช่วยฝ่ายสัมพันธ มิตรรบในสมรภูมิยุโรป ทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และยังทำให้ประเทศได้รับผลประโยชน์ ด้านต่างๆ ในฐานะประเทศชนะสงคราม
–ทรงจัดตั้งกองทัพอากาศเพิ่มขึ้นอีกกองทัพหนึ่ง ทรงจัดตั้งกองเสือป่าและกองลูกเสือเพื่อปลุกใจพลเมืองให้รักชาติ
–ทรงโปรดให้สร้างบ้านเมืองจำลองขึ้นเรียกว่า ดุสิตธานี เพื่อเป็นโรงเรียนสอน เสนาบดีและอำมาตย์ ให้รู้จักการปกครองแบบประชาธิปไตย
–ทรงโปรดให้กระทรวงมหาดไทย เตรียมร่างกฎหมายปกครองท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเริ่มการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาลอย่างแท้จริง
-ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในเชิงอักษรศาสตร์ มีพระราชนิพนธ์คำประพันธ์ทุกชนิดเกินกว่า ๒๐๐เรื่อง
-ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในเชิงอักษรศาสตร์ มีพระราชนิพนธ์คำประพันธ์ทุกชนิดเกินกว่า ๒๐๐เรื่อง
@รัชกาลที่๗ ทรงครองราชย์ ๙ปีกว่าๆ
–ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี
–ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม
–ทรงให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ
–ทรงโปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก
–โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย
–ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร
-ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับประชาชน
@รัชกาลที่๘ ทรงครองราชย์ ๑๑ ปีกว่าๆ
ทรงครองราชย์ตั้งแต่ตอนอายุ ๙พรรษา ทรงเป็นยุวกษัตริย์ ที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจให้ประชาชนชาวไทยได้เป็นอย่างดีครับ ทรงโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง เพื่อทรงเยี่ยมประชาชนชาวจีนและอินเดียในบริเวณนั้น เป็นการช่วยลดความแตกแยกระหว่างประชาชนชาวไทยและชาวจีน จนหมดไปด้วยพระปรีชาของพระองค์
@รัชกาลที่๙ ทรงครองราชย์ ๗๐ปี
๔๔๔๗โครงการในพระราชดำริ ถูกตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชน และสิ่งแวดล้อม (ผมมีโอกาสไปเห็นกับตาตัวเองมาแล้ว ๒๖โครงการ)ทุกโครงการมีสถานที่ตั้งชัดเจน พวกเราสามารถเข้าไปเยี่ยมชม และศึกษาได้เลยครับ ไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อแต่อย่างไร!
–หลายโครงการเพื่อการส่งเสริมอาชีพ เช่น การทำฟาร์มโคนม ,โครงการนาข้าวทดลองที่สวนจิตลดา เพื่อเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นดีให้ชาวนานำไปปลูก ขยายพันธ์ ,โครงการเกษตรหลวงที่ดอยอ่างขางเพื่อให้ชาวเขา เลิกปลูกฝิ่นมาปลูกพืชผลและดอกไม้ที่จะเป็นประโยชน์กว่า , โครงการธนาคารโคกระบือ ให้เกษตรกรยืมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร , โครงการชั่งหัวมัน แปลงทดลองเกษตรวิถีใหม่เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรนำไปทำตาม,
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน เพื่อพัฒนาอาชีพการประมงและการเกษตรในเขตที่ดินชายฝั่งทะเล
–หลายโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมเช่น กังหันชัยพัฒนา แก้ปัญหาน้ำเสีย, โครงการแกล้งดิน แก้ปัญหาดินเสีย,โครงการฝนเทียม เพื่อลดความแห้งแล้ง, โครงการชลประทาน เพื่อการบริหารจัดการน้ำ, โครงการหญ้าแฝก เพื่อรักษาหน้าดิน, โครงการแก้มลิง เพื่อบริหารจัดการน้ำบรรเทาน้ำท่วม ,โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จัดการน้ำเสียและขยะ , ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เพื่อให้ความรู้ มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงดินพรุ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้. (ยังมีอีกเยอะครับ )
–หลายโครงการเกี่ยวกับสาธารณสุข
ทรงตั้งหน่วยแพทย์พระราชทาน เพื่อตามเสด็จไปรักษาประชาชนทั่วประเทศ ,มูลนิธิราชประชาสมาสัย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อน , มูลนิธิวิจัยประสาทวิทยา เพื่อค้นคว้า ป้องกัน รักษา และสงเคราะห์ผู้ป่วยทางประสาทวิทยาและสมองพิการทุกประเภท, วัคซีนโควิด-19 ที่แอสตร้า ผู้พัฒนาวัคซีนเลือกไทยเป็นฐานในการผลิตวัคซีนโดย บ.สยามไบโอไซเอนซ์ (ก่อตั้งโดยในหลวงรัชกาลที่๙)
@สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ( พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
พระราชกรณียกิจของพระองค์ครอบคลุม ๔ด้านใหญ่ๆครับ
–ด้านศิลปวัฒนธรรม
โครงการศูนย์ศิลปาชีพ สร้างอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรไทยทั่วประเทศ ส่งเสริมงานศิลปะพื้นบ้าน การปั้น การทอ และการจักสาน
โครงการนกยูงทอง ยกระดับและพัฒนาผ้าไหมไทย
–ด้านสาธารณสุข
ทรงรับผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงเป็นคนไข้ในพระราชูปถัมภ์ ทรงจัดตั้งโครงการแพทย์หลวง โครงการทันตกรรมพระราชทาน ,โครงการหมอหมู่บ้าน , โครงการแขน ขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่
–ด้านการศึกษา
ทรงให้ความสำคัญโครงการศึกษานอกระบบโรงเรียน เช่นการสอนอาชีพ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
–ด้านสิ่งแวดล้อม
ทรงตั้งโครงการป่ารักษ์น้ำ ,บ้านเล็กในป่าใหญ่ , โครงการพิทักษ์ป่ารักษาชีวิต, โครงการอนุรักษ์สัตว์น้ำ เป็นต้น
@รัชกาลที่๑๐ ครองราชย์ ๒๕๕๙ – ปัจจุบัน
FYI ท่านทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ตั้งแต่ก่อนที่ท่านจะทรงขึ้นครองราชย์ อีกนะครับน้องๆ
–ด้านการศึกษา
ทรงยกระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๓๘แห่งทั่วประเทศ concept คือ ให้มีคุณภาพการศึกษาและสามารถนำไปพัฒนาท้องถิ่นของตน
ทรงจัดตั้งโรงเรียนในพระราชดำริ เช่น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ แห่ง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๓แห่ง ,โรงเรียน ทีปังกรวิทยาพัฒน์ ๖แห่ง , มกุฏเมืองราชวิทยาลัย, โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์,และ โรงเรียนราชปิโยรสา ยุพาราชานุสรณ์
-ด้านสาธารณสุข ทรงตระหนักว่าสุขภาพพลานามัยอันดีของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างสรรค์ทรัพยากรบุคคล จึงทรงสนพระราชหฤทัยในการประกอบพระราชกรณียกิจกับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ๒๑แห่งทั่วประเทศ
-ด้านสังคมสงเคราะห์ ทรงเยี่ยมชุมชนแออัดของกรุงเทพฯ หลายแห่ง เช่น ชุมชนแออัดพระโขนง เขตคลองเตย เขตยานนาวา พระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนโครงการของชุมชน เช่น โครงการพัฒนาเด็กเล็กที่ขาดแคลน โครงการปราบปรามยาเสพติด
-ด้านเกษตรกรรม ทรงตั้งโครงการทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและวัชพืชอื่น ๆ เพื่อพระราชทานแก่เกษตรกร สำหรับนำไปใช้ในการเพาะปลูกเป็นการเพิ่มผลผลิต ที่บ้านแหลมสะแก จังหวัดสุพรรณบุรี
ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕ เพื่อช่วยเหลือราษฎรในท้องถิ่นให้ได้มีเทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่
ทรงมีพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ เช่น ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาด้านการเกษตรกรรมเกษตรวิชญา บ้านกองแหะ อำเภอแม่ริม
@สมเด็จพระเทพฯ (สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
พระราชกรณียกิจของพระองค์ครอบคลุม ๕ด้านใหญ่ๆครับ
-ด้านการศึกษา ทรงเป็น “ทูลกระหม่อมอาจารย์” สำหรับนักเรียนนายร้อย
ทรงพระราชดำริให้ก่อตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับบุตรหลานข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไป
ทรงพระราชทานทุนส่งเสริมการเรียนดี และพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานจากสถานศึกษาต่างๆ คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ วิทยาลัยในวังชาย วิทยาลัยในวังหญิง โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) กาญจนาภิเษกวิทยาลัย (ช่างทองหลวง)
ทรงมีแนวความคิดจัดตั้งโครงการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ขึ้น โดยความร่วมมือของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทรงสนับสนุนการช่วยเหลือ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ให้เป็นโรงเรียนผลิตนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ สร้าง”องค์ความรู้”ให้แก่ประเทศไทย
-ด้านการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทยทั้งในด้าน การช่างไทย นาฎศิลป์ไทย งานพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์และโบราณสถาน ภาษาและวรรณกรรมไทย พระองค์ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญาว่า “ เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย ”
-ด้านการพัฒนาห้องสมุดและการรู้หนังสือ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด ทรงรับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯไว้ในพระราชูปถัมภ์
-ด้านการสาธารณสุข จากการที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังถิ่นทุรกันดาร ทำให้พระองค์ทอดพระเนตรเห็นถึงปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรในชนบท จึงทรงตั้งโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน
พระองค์ยังทรงจัดตั้งหน่วยแพทย์พระราชทานและหน่วยทันตกรรมพระราชทานเพื่อออกตรวจรักษาราษฎรในถิ่นทุรกันดารที่พระองค์เสด็จ
-ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทรงเป็น “IT Princess”
พระองค์มีพระราชดำริให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาพัฒนาประเทศหลายประการ เช่นการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนในชนบท มีโรงเรียนในโครงการประมาณ ๘๕แห่ง
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างความรู้ สร้างอาชีพต่อไปในอนาคต
ทรงโปรดให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับงานทางด้านการเผยแพร่วัฒนธรรมของไทย ๗๖จังหวัด ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยมีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ดูแลโครงการนี้
@เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี)
–ทรงก่อตั้งกองทุนจุฬาภรณ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย
–ทรงก่อตั้งศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์ชำนาญการวินิจฉัยมะเร็งที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค
–ทรงจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ(Cyclotron and PET Scan) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูง
–ทรงให้ความสำคัญกับงานเทคโนโลยีเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ โปรดให้จัดงานประมงน้อมเกล้าฯ เป็นกิจกรรมการแสดงนิทรรศการของการประมงในประเทศไทย
–ทรงก่อตั้งมูลนิธิ หน่วยงาน เพื่อสุขภาพที่ดีของชาวไทยตลอดจนสิ่งแวดล้อมเช่น มูลนิธิเทียนส่องใจเพื่อคนไข้โรคลมชัก , สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย, สมาคมเคมีแห่งประเทศไทย ,และ มูลนิธิรักษาพยาบาลสัตว์ป่วยอนาถา โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(นี่แค่เป็นข้อมูลคร่าวๆนะครับ เพื่อให้เห็นภาพรวมของพระราชกรณียกิจของแต่ละพระองค์)
ทีมข่าว นสพ.ประชาไทนิวส์ออนไลน์
Cr.Wachilapui Intuputi