ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ทอดที่ สำนักปฏิบัติธรรมธารส่องธรรม (คลองถ้ำเต่า) หรือชาวบ้านเรียกว่า “วัดคลองถ้ำเต่า”
ประวัติโดยสังเขปของ สำนักปฏิบัติธรรมธารส่องธรรม (คลองถ้ำเต่า) หรือชาวบ้านเรียกว่า “วัดคลองถ้ำเต่า” ตั้งอยู่บ้านบึงไม้ ตำบล ชะอม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 18110
โดยมี พระอาทิตย์ อาทิตฺปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาทซึ่งท่านได้อุปสมบทที่ วัดราษฎร์นิยมธรรม (หนองผักชี) ตั้งอยู่ ซอย 52 สะพานใหม่ กรุงเทพมหานคร บรรพชาได้ 7 พรรษา ก็คิดอยากจะมีวัด สร้างในที่ป่าเขาลำเนาไพร สงบเงียบสงัด จึงได้อธิฐานจิตและได้ นิมิตมาเห็นที่คลองถ้ำเต่าแห่งนี้ จึงได้ออกตามหาจนเจอสถานที่ดังกล่าว จึงเริ่มสร้างลงหลักปักฐาน จนมาถึงปัจจุบัน ใช้เวลาก่อสร้างมาพร้อมศรัทธาญาติโยมในประเทศและต่างประเทศ โดยมีญาติโยมคนไทยในสวิสเซอร์แลน และในเยอรมัน เป็นกำลังศรัทธาด้วยดีตลอดมาจนปัจจุบัน
ปัจจุบันนี้สำนักปฏิบัติธรรมธารส่องธรรม (คลองถ้ำเต่า) สร้างมาได้ 15 ปี และหลวงพ่อได้ย้ายจากวัดต้นสังกัด มาอยู่สำนักปฏิบัติธรรมธารส่องธรรม ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2548 จนถึงปัจจุบันนี้
หลวงพ่อ อาทิตย์ อาทิตปญฺโญ ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี ทอดที่ สำนักปฏิบัติธรรมธารส่องธรรม (คลองถ้ำเต่า) หรือชาวบ้านเรียกว่า “วัดคลองถ้ำเต่า” เพื่อนำปัจจัยมาสมทบทุนปรับปรุงสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ให้กลับมาใช้ได้ตามสภาพปรกติ เพื่อใช้ในกิจการของสงฆ์สืบต่อไป
ทอดกฐินสำนักปฏิบัติธรรมธารส่องธรรม (คลองถ้ำเต่า) หรือชาวบ้านเรียกว่า “วัดคลองถ้ำเต่า” พระเกจิดัง นั่งปรก ปลุกเสกไอ้ไข่ บริกรรมคาถา คนแห่มาทำบุญแน่นวัด คลองถ้ำเต่า หมู่ 5 ตำบล ชะอม อำเภอ แก่งคอย จังหวัด สระบุรี เมื่อ วันที่ 25 ตุลาคม 2563 เวลา 9:00 น ณ.ที่สำนัก ปฏิบัติธรรม ธานส่องธรรม(คลองถ้ำเต่า) ตำบลชะอม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เพื่อนำไปบำรุ่งซ่อมแซมสนาสนะที่ชำรุดทรดโทรมในครั้งนี้ ประธานในพิธี คณะจาก ทัวร์ยุโรป ทรานเวลแอนด์เชอร์วิส คุณ อภิณัฐ ประสาสม และครอบครัว ทุกคณะ
ทุกสายให้เกียรติร่วมในพิธีทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2563 ที่สำนักปฏิบัตธรรม ธารส่องธรรม (คลองถ้ำเต่า ) หมู่5 ตำบลชะอม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยมีเจ้าอาวาส
สำหรับ กฐินสามัคคี ความหมายคือ กฐิน (บาลี: กน) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ [1] โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด1 ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท
การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน[1] ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย
ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน
กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน
แผนที่สำนักปฏิบัติธรรม https://goo.gl/maps/YC3vzLUcWK72 โทรศัพท์ 098-875-6514