เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 เป็นวันที่ตรงกับประเพณีออกพรรษา วัดเจ็ดริ้วจึงมีการจัดกิจกรรมตามประเพณีออกพรรษาเป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในชุมชนของชาวไทยเชื้อสายรามัญ ในตำบลเจ็ดริ้ว ที่ได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานกว่า 100 ปี
แต่ปีนี้ เนื่องจากเกิดสถานการณ์โควิด -19 จึงทำผู้คนมาร่วมพิธีน้อยลงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ทางวัดได้จัดให้มีการตักบาตรโดยแบ่งเป็นสองช่วงเวลา ช่วงเช้ามีผู้ถือศีล และชาวบ้านทั่วไปมาร่วมใส่บาตรในช่วงเช้า และหลังจากใส่บาตร ผู้ที่มาร่วมทำบุญก็ได้รับพรและฟังเทศน์ฟังธรรม จาก พระอธิการ ก้องไพร สุวัฒโณ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดเจ็ดริ้วด้วย
ช่วงบ่ายเวลา15:00 น. ผู้คนเริ่มทยอยมาร่วมบุญกันอีกครั้ง ร่วมถึง นาย ปราโมทย์ ชาวเมืองโขง วัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร ก็มาร่วมพิธีตักบาตรดอกไม้และล้างเท้าพระในปีนี้ด้วย ซึ่งเป็นประเพณีสืบทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวรามัญและที่สำคัญการแต่งกายของชาวรามัญส่วนใหญ่จะนุ่งขาวห่มขาว และมีสไบมอญพาดไหล่ และเป็นเอกลักษณ์สำคัญของชาวมอญซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน
ผู้คนจากทุกสารทิศที่ศรัทธาในพุทธศาสนาก็จะมารอใส่บาตรดอกไม้และล้างเท้าพระ เมื่อพระภิกษุเดินผ่านก็จะนำดอกไม้จากท้องถิ่นที่ปลูกโดยชาวสวนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นดอกกล้วยไม้นำมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ มีผืนผ้าเล็กๆให้พระภิกษุได้เยียบลงบนผ้านั้นและนำน้ำสะอาดมารดลงตรงเท้าพระภิกษุสงฆ์ หลังจากนั้นพระภิกษุก็เดินเข้าโบสถ์เป็นอันเสร็จพิธี
ผู้สื่อข่าวได้เดินสำรวจบริเวณรอบๆวัด ส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนของชาวมอญ อาชีพหลักคือชาวสวนเป็นหลัก ซึ่งปลูกผลไม้หลากชนิดและดอกกล้วยไม้ด้วยแต่ส่วนใหญ่จะปลูกมะพร้าวน้ำหอมเป็นหลัก
และมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับนักท่องเที่ยว คือการนำมะพร้าวออกจากสวน โดยล่องน้ำมา เพราะการที่จะนำมะพร้าวออกมาจากสวนจำนวนมากๆ ต้องใช้แรงงานขนจำนวนมากถ้าขนทางบก แต่การขนมะพร้าวมาทางน้ำจะทำให้ประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่ายไปมากกว่าทางบก
ซึ่งจะไม่ได้พบเจอบ่อยนัก ต้องรอมะพร้าวโตได้ทีถึงจะตัดขาย สมุทรสาครเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กรุงเทพเดินทางสะดวก ถ้าอยากไปเที่ยวชมวัดเก่าของชาวมอญและชิมมะพร้าวน้ำหอมที่รสชาติเยี่ยมจากสวนโดยตรงต้องไปบ้านแพ้วสมุทรสาคร
ไกด์นพ หนังสือพิมพ์ประชาไทนิวส์ออนไลน์ รายงาน