เมื่อวันนี้ 18 ธันวาคม 2564 เวลา 09.00 น. นายไพฑูลย์ จารุสาร ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU ) หลักสูตร Internet of Thing (IOT) โดยมีแขกผู้มีเกียรติร่วมลงนามร่วมกันดังนี้ นายณรงค์ รักเดช ประธานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน รร.สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี , นายนิติ เมฆหมอก สมาคมไทยไอโอที , นายสุรชัย ชมเพลินจิตร สมาคมศิษย์เก่ารร.สวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี , ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ , นายพลีธรรม ตริยะเกษม , บริษัท ดินสอ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด , นายกฤตรัช สาทรานนท์ บริษัทสมาร์ทโดรน จำกัด และนายธนโชค สิริพัลลภ บริษัท โลโบแลบ OSKN จำกัด ร่วมลงนามพร้อมกัน
นายไพฑูลย์ ฯ กล่าวว่า การเรียนในส่วนนี้นักเรียนไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการเรียนแต่อย่างใด ขอฝากถึงผู้ปกครองหากเห็นว่าบุตรตนเองมีความสามารถในด้านการคิด การประดิษฐ์ มีความคิดที่แตกต่างออกไป อย่าไปปิดกั้นแนวความคิดของเด็ก ให้ผู้ปกครองช่วยส่งเสริมให้เขาเป็นนวัตกรที่ผลิตนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกต่อไปในอนาคต แต่ไม่ได้กำหนดให้นักเรียนมีสมรรถนะความสามารถในด้านนี้เพียงอย่างเดียว แต่นำความสามารถทางด้านศิลปะและธุรกิจมาร่วมผลิตนวัตกรรมร่วมกัน ก็จะทำให้สิ่งที่ประดิษฐ์ร่วมกันมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
นายนิติ ฯ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการช่วยสร้างหลักสูตรให้กับทางโรงเรียนฯ จำลองถึงนักเรียน นักศึกษาที่โตขึ้นไป ถึงภาคเอกชน ภาคการทำงาน ต้องการทักษะทางด้านเทคโนโลยีที่โตเร็วมาก การที่จะรอให้ทางวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยปรับหลักสูตรอาจจะไม่ทัน ทางผู้ประกอบการ จะเป็นผูบอกว่าต้องการทักษะและแนวคิดแบบไหน ไม่ใช่เทคโนโลยีอย่างเดียว ต้องพัฒนาตนเองขึ้นไปด้วย ทางสมาคมจึงมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรนี้
นายนิติ ฯ กล่าวต่อไปอีกว่า เรามีสมาชิกและที่ปรึกษาของทางสมาคม ไทยไอโอที ทางด้านการพัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มทักษะให้ทางด้านผู้ประกอบการ นักเรียนและนักศึกษา ได้มีการปรึกษากันว่าควรจะมีทักษะในด้านใด อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ทันสมัย หน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการให้เข้าไปช่วย ทางสมาคมยินดีแบ่งปันข้อมูลและความรู้ ให้เหมาะสมกับทางหน่วยงาน ทางโรงเรียนหรือหน่วยงานต้องแจ้งวัตถุประสงค์มาว่าต้องการพัฒนานักเรียนนักศึกษานะดับไหนเพื่อวัตถุประสงค์อะไร เราก็จะเตรียมความรู้หรือทักษะที่ตรงตามความต้องการเข้าไปให้ โดยมีวิทยากรที่เป็นผู้ประกอบการที่เป็นผู้พัฒนางาน
ซึ่งนอกเหนือจากอาจารย์ของทางมหาวิทยาลัย สามารถเห็นมุมมองทางผู้ประกอบการในแง่พัฒนาค่าต้นแบบที่ให้ผลงานเกิดขึ้นจริง มองถึงระยะเวลา ต้นทุนและค่าใช้จ่าย และโอกาศทางธุรกิจ ซึ่งเป็นการผสมผสานในส่วนเนื้อหาและมุมมองทางธุรกิจ ที่นักเรียนนักศึกษาไม่สามารถหาได้จากในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งทางสใาคมมีทั้งความรู้ มีข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงเครือข่าย ในปัจจุบันทางสมาคมได้เข้าไปสร้างหลักสูตรให้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ การที่จะพัฒนาสิ่งใด ต้องมีการเก็บข้อข้อมูลขั้นพื้นฐานก่อน เราจึงมองว่าควรที่จะใช้ไอโอทีเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญ
นอกจากนี้ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์เดช กีรติภรานนท์ เป็นวิทยากร พร้อมด้วยคณะนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เขตหลักสี่ เป็นผู้ฝึกสอนและผู้ช่วยฝึกสอน โดยมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 ให้ความสนใจในหลักสูตรการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นจากโปรแกรม (Holo code) และคำสั่งเรียกใช้ AI โดยสั่งการจากคำพูด รวมถึงให้นักเรียนทำกิจกรรมเวิร์คชอปร่วมกัน
นายณรงค์เดช ฯ กล่าวว่า สิ่งที่นักเรียนได้รับคือความเป็นนักเทคโนโลยี สามารถรับรู้ว่าไอโอทีและเอไอ จะช่วยพัฒนาหรือยกระดับได้อย่างไร สามารถปฏิบัติประยุกต์ใช้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆได้ ซึ่งไม่ได้คาดหวังว่านักเรียนจะเป็นวิศวะหรือนักพัฒนาระบบ ต้องการให้มีความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีร่วมกับอาชีพต่างๆ และเรียนรู้ในส่วนการทำงานเป็นทีม คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และอดทนในการทำงานที่ไม่มีผลสำเร็จตายตัว ในหลักสูตรนี้เป็นการจัดครั้งแรกที่มาสอนกัน ก่อนหน้านี้มีการเรียนการสอนทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว
สมศักดิ์ น.ส.พ.ประเด็นรัฐ เบนซิน ประชาไทนิวส์ออนไลน์