กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดนโยบายการปลูกพืชฤดูแล้ง และนโยบายการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำและความต้องการของเกษตรกร โดยเฉพาะสินค้าข้าวซึ่งเป็นพืชหลักโดยมีทั้งพื้นที่เพาะปลูกและเกษตรกรที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้กรมการข้าวกรมชลประทาน และสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกันดำเนินการให้เกษตรกรทำนาแบบเปียกสลับแห้งซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ทำให้เกิดความคุ้มค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะได้จัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันหาแนวทางในการสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกรให้ได้เป็นวงกว้างมากที่สุด
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.30 น. ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก. ตำบลหัวเวียง หมู่ 7 ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีการทำนาแบบเปียกสลับแห้งโดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ เกษตรกร บุคลากร กรมการข้าว กรมชลประทาน และกรมส่งเสริมกรเกษตร
โดยการปลูกข้าวโดยวิธีเปียกสลับแห้ง ที่มา คือ เกษตรกรใช้น้ำทำนาในปริมาณที่สูง(ทั่วไปคือน้ำเต็มแปลงตลอดเวลา) ปริมาณน้ำวิกฤต ขาดแคลนต่อเนื่อง(เน้นหนักฤดูแล้ง)มีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดต้นทุนการผลิตข้าว(ลดกการสูบน้ำ ลดการใช้ปุ๋ย ลดแรงงาน) ชาวนารักษ์โลก ผลผลิตใกล้เคียงกับผลผลิตที่ผ่านมา(เกษตรกรพึงพอใจ)กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรหมู่ 7 ตำบล หัวเวียง อำเภอ เสนา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา (แปลงใหญ่) กับเกษตรกรรอบแปลงใหญ่(พื้นที่บริหารจัดการน้ำในพื้นที่เดียวกัน) จำนวน 130ราย/330 แปลง พื้นที่เพาะปลูก จำนวน 3,000 ไร่
ด้าน นาย ธนากร ตันติกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ส่วนในเรื่องของการจัดการน้ำในการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ในปกติการทำนาครั้งนึงเราจะใช้ประมาณ 1000ลูกบาตเมตรต่อข้าว1ไร่ และในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในตอนนี้มีปริมาณน้ำน้อย อาจจะไม่มีสำหรับการทำเกษตร แต่โครงการทำนาเปียกสลับแห้งนี้ จะใช้บริมานน้ำลดลง50% แต่ได้ผลผลิตเท่าเดิม ต้นทุนการผลิตข้าว(ลดกการสูบน้ำ ลดการใช้ปุ๋ย ลดแรงงาน) ชาวนารักษ์โลก ผลผลิตใกล้เคียงกับผลผลิตที่ผ่านมา
กอบกฤษณ์ ชูกลิ่น อยุธยา