ติดต่อโฆษณาได้ที่ 061-939-1959 ; 02-066-9495 title="ติดตั้งแก๊สรถยนต์ ซ่อมระบบแก๊ส ซ่อมรถยนต์ทุกชนิด ด้วยช่างที่เก่ง" target="_blank">

กรณีพนักงานของบริษัท A (นายจ้าง) ซึ่งเป็นหนี้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและเป็นหนี้กู้ยืมเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ด้วยนั้น เมื่อนายจ้างได้รับแจ้งจากสหกรณ์เพื่อให้หักเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือเงินอื่นใดของพนักงานหรือลูกจ้างเพื่อชำระหนี้หรือภาระผูกพันที่มีต่อสหกรณ์ตามกฎหมายสหกรณ์และได้รับแจ้งจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพื่อหักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างรายเดียวกันนำส่งกรมสรรพากรเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมคืนตามจำนวนที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแจ้งให้ทราบตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา นายจ้างจะดำเนินการหักเงินเดือนหรือค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและลูกหนี้สหกรณ์อย่างไรนั้น

ลำดับการหักเงินเดือนหรือค่าจ้างเพื่อชำระหนี้ให้แก่กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและสหกรณ์

บทบัญญัติมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฯ ซึ่งได้กำหนดเป็นบทบังคับให้บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคลทั้งภาครัฐ และเอกชนผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔0 (๑) แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ อีกทั้งได้กำหนดโทษทางปกครองสำหรับกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้ พึงประเมินไม่ได้หักเงินได้พึงประเมิน หักและไม่ได้นำส่งหรือนำส่งแต่ไม่ครบตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ หรือหักและนำส่งเกินกำหนดระยะเวลาด้วย โดยผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินจะต้องรับผิดชดใช้เงินที่ต้องนำส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบและต้องจ่ายเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละสองต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินยังไม่ได้นำส่งหรือตามจำนวนที่ยังขาดไปแล้วแต่กรณี

ลำดับการหักเงินเดือนหรือค่าจ้างเพื่อชำระหนี้ให้แก่กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและสหกรณ์

ทั้งนี้เพื่อให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาสามารถนำเงินกู้ยืมดังกล่าวกลับมาหมุนเวียนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาได้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนต่อไป ในขณะที่การหักเงินเดือนหรือค่าจ้างของลูกจ้างเพื่อชำระหนี้ที่มีต่อสหกรณ์ตามมาตรา ๔๒/1 วรรคหนึ่ง  แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ นั้น เป็นการดำเนินการที่อาศัยเพียงความยินยอมของลูกหนี้ซึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ฯ ที่เป็นคณะบุคคลซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์  เพื่อร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกสหกรณ์โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันจึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสหกรณ์และสมาชิกของสหกรณ์เท่านั้น ดังนั้น แม้มาตรา ๕๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฯ จะได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลำดับการหักเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาไว้ในลักษณะทำนองเดียวกับมาตรา ๔๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ ก็ตามแต่เมื่อมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฯ ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างในการหักเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างเพื่อชำระเงินกู้ยืม  คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งหากนายจ้างไม่ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวย่อมจะต้องรับผิดชดใช้เงินและจ่ายเงินเพิ่มแก่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕๑ วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฯ

ลำดับการหักเงินเดือนหรือค่าจ้างเพื่อชำระหนี้ให้แก่กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและสหกรณ์
นางสาวสุชาดา ไสยลา นิติกรปฏิบัติการ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนนทบุรี

ดังนั้น การดำเนินการ  หักเงินเดือนของลูกจ้างให้แก่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จึงเป็นการดำเนินการตามหน้าที่ ที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจำต้องกระทำการ หากไม่กระทำการ นายจ้างจะถูกลงโทษทางปกครองโดยต้องชำระเงินเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด ขณะที่การหักเงินชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์เป็นเพียงการดำเนินการตามเจตนาแสดงความยินยอมของลูกจ้างเท่านั้น ดังนั้น การหักเงินเดือนหรือค่าจ้างของพนักงานหรือลูกจ้างระหว่างหนี้เงินกู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและหนี้สหกรณ์ที่เป็นการหักในลำดับเดียวกันนั้นนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔0 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จึงมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายที่จะต้องหักเงินเดือนหรือค่าจ้างของพนักงานหรือลูกจ้างเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาก่อนการหักชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ อ้างอิงบันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1167/2562 มาตรา ๔๒/๑ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติว่า การหักเงินตามวรรคหนึ่ง ต้องหักให้สหกรณ์เป็นลำดับแรก ถัดจากหนี้ภาษีอากรและการหักเงินเข้ากองทุน ที่สมาชิกต้องถูกหักตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม ในทำนองเดียวกันมาตรา ๕๑ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฯ ได้บัญญัติว่า การหักเงินตามวรรคหนึ่งต้องหักให้กองทุนเป็นลำดับแรกถัดจากการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการหักเงินเข้ากองทุนที่ผู้กู้ยืมเงินต้องถูกหักตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

ลำดับการหักเงินเดือนหรือค่าจ้างเพื่อชำระหนี้ให้แก่กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและสหกรณ์

กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ซึ่งบทบัญญัติของกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวได้กำหนดลำดับการหักหนี้ไว้ในทำนองเดียวกันและต่างเป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เท่ากัน อย่างไรก็ตามกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะของประเทศในด้านการศึกษาโดยที่มาของเงินเดือนและทรัพย์สินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาส่วนหนึ่งมาจากเงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลหรือเงินที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามมาตรา 7 (2) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฯ ซึ่งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจะต้องดำเนินการเพื่อบริหารจัดการกองทุนให้มีเงินและทรัพย์สินเพียงพอที่จะใช้หมุนเวียนในการให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษารายอื่นอีกต่อไป ดังนั้น

ลำดับการหักเงินเดือนหรือค่าจ้างเพื่อชำระหนี้ให้แก่กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและสหกรณ์

สหกรณ์ คือ นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สหกรณ์เกิดจากการรวมกลุ่มกันของคณะบุคคลในสหกรณ์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยอาศัยเงินทุนหมุนเวียนที่เรียกเก็บจากสมาชิกของสหกรณ์ เป็นการอำนวยประโยชน์แก่สมาชิกของสหกรณ์โดยเฉพาะ สหกรณ์จึงมีลักษณะเป็นองค์กรธุรกิจเอกชนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีข้อบังคับเป็นของตนเอง ซึ่งดำเนินงานโดยคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ โดยได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกซึ่งอยู่ในที่ประชุมใหญ่ และดำเนินการภายในขอบอำนาจหน้าที่ตามที่ข้อบังคับสหกรณ์และระเบียบของสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ โดยมีกรมส่งเสริมสหกรณ์ มีอำนาจกำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานของสหกรณ์ได้ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542

สหกรณ์จังหวัดนนทบุรี

ติดต่อโฆษณาที่ 061-939-1959