วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่อง “พระพิมพ์ไกเซอร์” ที่โด่งดังถึงต่างแดน เมื่อท่านได้แสดงอิทธิฤทธิ์ ให้ผู้คนได้เห็นได้ประจักรกับตาตนเองมาแล้ว สืบเนื่องจากการเสด็จประภาสยุโรปครั้งที่1 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในหลายประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2440 หนึ่งในนั้นคือประเทศเยอรมัน การเสด็จในครั้งนั้นก็เพื่อเป็นการกระชับสัมพันธไมตรี และหารือข้อราชการ โดยได้พบกับพระเจ้าไกเซอร์ วิล เฮล์ม ที่ 2 ทั้งในฐานะแขกของรัฐบาลและการส่วนพระองค์ ในการเข้าพบพระเจ้าไกเซอร์ ในครั้งนั้น รัชกาลที่5 ทรงนำพระเครื่องพิมพ์ “อกครุฑ เศียรบาตร” ติดตัวมาด้วยโดยใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อ พระ ” อกครุฑ เศียรบาตร ” ได้แสดง “อิทธิฤทธิ์” ให้เห็นโดยส่องแสงสว่างเรืองรองออกจากกระเป๋าเสื้อให้ทุกคน ณ ที่นั้นได้เห็น รวมทั้งพระเจ้าไกเซอร์ด้วย
พระเจ้าไกเซอร์ แปลกใจมากที่เห็นแสงนี้ จึงถามรัชกาลที่5 ว่า ท่านมีอะไรในกระเป๋าเสื้อเป็นที่น่าอัศจรรย์นัก รัชกาลที่5 ทรงตอบว่า “พระเครื่อง” ซึ่งคนไทยนับถือ เชื่อว่าพระเครื่องจะคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย จากอันตรายทั้งปวง พระเจ้าไกเซอร์เห็นในอิทธิฤทธิ์แล้วจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา พระองค์จึงมอบพระพิมพ์ “อกครุฑ เศียรบาตร” ให้พระเจ้าไกเซอร์ เมื่อรับมาแล้ว พระเจ้าไกเซอร์ ก็นำใส่กระเป๋าเสื้อเหมือนกันเป็นที่น่าอัศจรรย์ ยิ่งเพิ่มของศรัทธาให้แกพระเจ้าไกเซอร์ มากยิ่งขึ้น
*ใส่กระเป๋าเสื้อก็เกิดแสงสว่างเช่นเดียวกัน เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง
พระพิมพ์ไกเซอร์ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระเจ้าไกเซอร์นั้น ประวัติว่า สร้างราวปี พ.ศ.2413 โดยบ้างก็ว่าสมเด็จโต ท่านแกะพิมพ์เอง บ้างก็ว่าช่างหลวงเป็นผู้แกะพิมพ์ แต่อย่างไรก็ตาม บางประวัติการสร้าง พระพิมไกเซอร์สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2390 แล้ว แต่มาเป็นที่กล่าวขานในเรื่อง “อิทธิฤทธิ์-ปาฏิหาริย์” ที่สร้างปี พ.ศ.2413 ซึ่งผมเรียกว่า “วาระ” วาระ ในที่นี้ผมหมายถึง วัน เดือน ปี พระพิมพ์ไกเซอร์ เท่าที่เห็นมีอยู่ 2 พิมพ์ คือ พิมพ์บัว5ดอก และพิมพ์ขาโต๊ะ มีหลายขนาดมี ขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดใหญ่ ขนาดรองใหญ่ ขนาดสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดเล็กเท่าข้อนิ้วก้อย(พระคะแนน)
อย่างไรก็ตาม ท่านที่มีความศรัทธาใน พระพิมพ์ไกเซอร์ ต้องพิจารณาใน เนื้อหามวลสาร ความเก่า มีการยุบตัว (ยุบ ย่น เหี่ยว ฉ่ำ นวล) ถ้าลงรักปิดทองก็ ต้องดูการหดตัวการร่อนปริแตกของรักและทอง สิ่งเหล่านี้จะเป็นแนวทางให้ท่าน ตัดสินใจได้ว่า พระองค์นั้นๆสร้างทันยุคถึงยุคหรือไม่ แล้วพบกันใหม่ครับ
เทพ วัดอรุณ