“โรคมะเร็ง” เป็นปัญหาใหญ่ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และทำลายชีวิตประชากรจำนวนมากขึ้นทุกปี นักวิจัยจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติจึงได้คิดค้นยุทธศาสตร์ใหม่ในการพิชิตโรคมะเร็ง โดยเป็นการสู้กับมะเร็งในเชิงรุกแทนการตั้งรับ ด้วยวิธี “การตรวจคัดกรอง DNAในเม็ดเลือดขาว” ที่รู้ผลภายใน 6 ชั่วโมง ทำให้สืบค้นว่า “ใคร” คือผู้เสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งในอีก 10 ปีข้างหน้า
“การตรวจคัดกรอง DNAในเม็ดเลือดขาว” เป็นงานวิจัยของ ดร.ดนัย ทิวาเวช รองเลขาธิการสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท) และผู้ชำนาญการพิเศษด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ หัวหน้างานชีววิทยามะเร็ง กลุ่มงานวิจัย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร่วมกับคณะ โดยเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมะเร็ง โดยการตรวจ DNAในเม็ดเลือดขาว
สำหรับจุดเริ่มต้นของงานวิจัยดังกล่าว ดร.ดนัย กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นปัญหาใหญ่ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และทำลายชีวิตประชากรจำนวนมากมหาศาลทุกปี โดยในประเทศไทยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง และอุบัติการณ์ของโรคยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี โดยจากการศึกษาพบว่า มะเร็งเป็นโรคที่ซับซ้อนมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง และยังไม่ทราบถึงกลไกของการเกิดโรคที่แน่ชัด โดย 5-10% เกิดจากพันธุกรรมโดยตรง และอีก 90-95% อาจเกิดจากผลกระทบร่วมกันของสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และมักพบว่าเป็นโรคมะเร็งในระยะเกือบสุดท้ายแล้ว เมื่อรักษาด้วยการผ่าตัด รังสีรักษาและเคมีบำบัด ผู้ป่วยมักเสียชีวิตในระยะเวลาไม่นานนัก แต่ถ้าเริ่มให้การรักษาในขณะที่เป็นมะเร็งระยะเริ่มแรก แพทย์ก็จะสามารถรักษาให้หายขาดได้
“การตรวจคัดกรอง DNAในเม็ดเลือดขาว เป็นการสู้กับมะเร้งเชิงรุกแทนการตั้งรับ และเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่นักวิทยาศาสตร์สามารถสืบค้นได้ว่า ใครคือผู้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มมีรหัสพันธุกรรมเสี่ยงต่อโรคมะเร็งจะสามารถป้องกันตนเอง และได้รับการรักษาโรคอย่างทันท่วงที รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ”สำหรับวิธีการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมะเร็งที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปนั้น จะทำการเจาะเลือดผู้ที่มีความเสี่ยง เพื่อตรวจ DNA ในเม็ดเลือดขาว ซึ่งสามารถทำนายความเสี่ยงของผู้ที่กำลังจะเป็นโรคมะเร็งระยะเริ่มแรกในอนาคต อาทิ มะเร็งของกระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ เต้านม ตับ และโพรงหลังจมูก เป็นต้น โดยจะทราบผลการตรวจได้ภายใน 6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะให้ความรู้อย่างถูกต้องในด้านโภชนาการ การกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การป้องกันตนเองจากความเสี่ยงต่างๆ ควบคู่ไปกับการรักษาที่ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ ซึ่งนับเป็นกลยุทธสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต“ประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆที่นำความรู้ด้านอณูพันธุกรรมมาประยุกต์ใช้ในการทำนายความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ซึ่งนับเป็นวิทยาการสมัยใหม่ในการตรวจหาผู้ที่จะเป็นมะเร็งได้ ในขณะที่ยังไม่มีอาการและตามด้วยการตรวจด้วยเครื่อง PET/CT Scan พร้อมทั้งตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาและให้การรักษาต่อไป ซึ่งจะทำให้การรักษาโรคมะเร็งหายขาดได้สูงมาก ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าได้ถึง 10 ปี” อย่างไรก็ดี ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆในคน เกิดจากการขาดยีนชนิดหนึ่งที่ผลิตเอนไซต์ Glutathione S-transferase M1 gene (ยีนกลูตาไธโอน เอส ทรานสเฟอเรส เอ็ม 1) หรือ GSTM1 ที่ทำหน้าที่ขจัดสารก่อมะเร็งออกจากร่างกาย ก่อนที่สารดังกล่าวจะเข้าไปทำให้ DNA เกิดการกลายพันธุ์และเกิดโรคมะเร็งได้ ดังนั้น การตรวจหายีน GSTM1 จะช่วยให้ทำนายและติดตามค้นหากลุ่มคนที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ซึ่งจะทำให้ตรวจพบผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะเริ่มแรกในคนไทยได้อย่างรวดเร็วสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ควรรับการตรวจ คือ ผู้ที่มีอายุ 30 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็ง ทั้งนี้ ปัจจุบันสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ยังไม่มีการเปิดบริการให้มีการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาผู้มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมะเร็ง แต่จะมีการให้บริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งให้กับประชาชนทั่วไป วันละ 50 ราย ใน “งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ “ในวันที่ 11-12 สิงหาคม ที่ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา ผู้ที่สนใจสามารถร่วมไขรหัสลับมะเร็งร้ายได้เร็วๆ นี้
ทีมข่าว นสพ.ประชาไท
Cr.mgronline
ติดต่อเพิ่มเติมได้ที่ https://herbenzyme-shop.weebly.com/