ติดต่อโฆษณาได้ที่ 061-939-1959 ; 02-066-9495 title="ติดตั้งแก๊สรถยนต์ ซ่อมระบบแก๊ส ซ่อมรถยนต์ทุกชนิด ด้วยช่างที่เก่ง" target="_blank">

โรตไตและการบำบัดด้วย Herbenzyme

โรคไต (Kidney disease) คือ โรคที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดของเสีย และ/หรือ สารอาหาร และ/หรือธาตุอาหารส่วนเกินที่ปกติร่างกายจะกำจัดออกทางปัสสาวะโดยผ่านการทำงานของไต    ซึ่งเมื่อเกิดโรคไต ไตจะทำงานได้ลดลง จึงก่อให้เกิดการคั่งของสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการเหล่านั้น ส่งผลถึงการทำงานของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ จนถึงเกิดเป็นภาวะไตวาย ซึ่งการที่ร่างกายกำจัดของเสียไม่ได้ เนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆก็จะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จนในที่สุดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะไตวาย ถ้าไม่ได้รับการล้างไต หรือไม่ได้รับการปลูกถ่ายไตในช่วงเวลาที่เหมาะสม

ประเภทของโรคไต

  1. โรคไตเฉียบพลัน โรคไตที่เกิดจากสาเหตุเฉียบพลัน ซึ่งพบได้น้อยและมักสามารถรักษาได้หายในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ไตขาดเลือดจากอุบัติเหตุ  จากยาปฏิชีวนะ การแพ้สารทึบแสงที่ฉีดเข้าเพื่อการเอกซเรย์ หรือ MRI
  1. โรคไตเรื้อรัง ( เมื่อกล่าวถึง โรคไต ทั่วไปจึงมักหมายถึง โรคไตเรื้อรัง) สาเหตุมาจาก โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคหัวใจ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบ และ/หรือ การขาดเลือดของเซลล์ไต ส่วนโรคเรื้อรังจากสาเหตุอื่นๆที่พบได้ เช่น โรคไตจาก โรคนิ่วในไต โรคไตอักเสบจากการติดเชื้อ โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง โรคถุงน้ำหลายๆถุงในไตทั้งสองข้าง (Polycystic kidney disease)

อาการ โรคไตเฉียบพลัน: อาการสำคัญ คือ ปัสสาวะน้อยกว่าปกติมาก หรือไม่มีปัสสาวะ

โรคไตเรื้อรัง: เมื่อเริ่มเป็น จะไม่มีอาการ จะมีอาการต่อเมื่อโรคเป็นมากแล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุให้เมื่อผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการของโรคไต จึงมักป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่รุนแรงแล้ว อาการที่พบได้บ่อยจากโรคไตเรื้อรัง คือ

  • ปัสสาวะผิดปกติ อาจปริมาณมาก ปริมาณน้อย หรือไม่มีปัสสาวะ ปัสสาวะอาจขุ่น หรือใสเหมือนน้ำ หรือสีเข้ม เป็นฟองตลอดเวลา มีเลือดปน และ/หรือมีกลิ่นผิด ปกติ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • เบื่ออาหาร รสชาติอาหารแปลกไป ทั้งนี้จากผลของมีของเสียสะสมในร่างกาย
  • คลื่นไส้ อาเจียน จากการสะสมของของเสียเช่นกัน
  • คัน จากการระคายเคืองผิวหนังจากของเสียต่างๆ
  • ซีด ทั้งนี้เพราะเซลล์ไตจะสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งซึ่งจะช่วยการสร้างเม็ดเลือดแดงของไขกระดูก ดังนั้นเมื่อเซลล์ไตเสียไป ฮอร์โมนชนิดนี้ก็ถูกสร้างลดลงไปด้วย จึงส่งผลถึงการสร้างเม็ดเลือดแดงของไขกระดูก
  • มีน้ำในร่างกายมาก เพราะไตขับออกไม่ได้ จึงเกิดอาการบวม มักเริ่มที่ เท้า และรอบดวงตาก่อน
  • เมื่อเป็นมาก จะเกิดอาการของไตวาย เช่น สับสน โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

ระยะต่างๆของโรคไตแบ่งเป็น 5 ระยะ ตามระดับความรุนแรง ดังต่อไปนี้

  • ระยะที่ 1:พบมีการทำลายไตเกิดขึ้น โดยพบความผิดปกติจากการตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ และ/หรือพยาธิสภาพของชิ้นเนื้อไต โดยที่อัตราการกรองของไตยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ กล่าวคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 90 มล.ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 73 ตร.ม.
  • ระยะที่ 2:พบมีการทำลายไตร่วมกับเริ่มมีการลดลงของอัตราการกรองของไตเล็กน้อยคืออยู่ในช่วง 60-89 มล.ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 73 ตร.ม.
  • ระยะที่ 3:มีการลดลงของอัตราการกรองของไตปานกลาง คืออยู่ในช่วง 30-59 มล.ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 73 ตร.ม.
  • ระยะที่ 4:มีการลดลงของอัตราการกรองของไตรุนแรง คืออยู่ในช่วง 15-29 มล.ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 73 ตร.ม.
  • ระยะที่ 5:มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (อัตราการกรองของไตน้อยกว่า 15 มล.ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 73 ตร.ม.)

สาเหตุโรคไต

  1. สาเหตุของโรคไตเฉียบพลัน: ซึ่งเป็นโรคพบได้น้อย เช่น ไตขาดเลือดจากร่างกายเสียเลือดมาก ไตได้รับบาดเจ็บโดยตรง (เช่น จากอุบัติเหตุ) ภาวะขาดน้ำรุนแรง ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด ยาปฏิชีวนะบางชนิด สารทึบแสง/สีที่ฉีดในการวินิจฉัย โรคด้วย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ MRI
  2. สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรัง: มีได้หลากหลาย ที่พบบ่อยที่สุด คือ
  • โรคเบาหวาน โรค
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคอ้วน
  • โรคหัวใจ
  • โรคนิ่วในไตไตติดเชื้อแบคทีเรีย
  • โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง
  • กินอาหารเค็ม เพราะเกลือโซเดียมในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
  • โรคมะเร็ง โดยมักเกิดจากโรคมะเร็งชนิดต่างๆแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง แล้วต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้มีขนาดโตจนกดเบียดทับท่อไต ส่งผลให้เกิดมีการเพิ่มความดันในไต ไตบวม และเซลล์ไตเสียการทำงานในที่สุด
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น มีถุงน้ำมากมายในไตทั้งสองข้าง (Polycystic kidney disease) จนส่งผลให้ไตมีการทำงานได้ลดต่ำลง จนกลายเป็นโรคไตเรื้อรังในที่สุ

การตรวจวินิจฉัยโรคไต การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะ และการตรวจเลือด ดูการทำงานของไต (เช่น สาร Creatinine ย่อว่า Cr, Blood urea nitrogen ย่อว่า BUN, และ Glomerular filtration rate ย่อว่า GFR ) และของเกลือแร่ต่างๆ (เช่น Sodium, Potassium, Calcium, และ Phosphorus) และอาจมีการตรวจต่างๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับ อาการผิดปกติของผู้ป่วย สิ่งผิด ปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจภาพไตด้วย อัลตราซาวด์ เอกซ เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอมอาร์ไอ และการตัดชิ้นเนื้อจากไตเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

  • Urea Nitrogen เป็นสารปลายทางของการใช้โปรตีนของร่างกาย และสารนี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็นสาร Urea ที่ร่างกายกำจัดทิ้งออกทางไต/ทางปัสสาวะ ดังนั้น Urea Nitrogenในเลือด(BUN)จะสูงขึ้นผิดปกติถ้าไตทำงานไม่ได้ตามปกติ ทางการแพทย์จึงใช้การตรวจเลือดดูค่าบียูเอ็น ที่เรียกว่า BUN test เพื่อเป็นการตรวจคัดกรองโรคไต/คัดกรองการทำงานของไต เพราะการตรวจนี้เป็นการตรวจที่ง่าย

ค่าปกติของ  BUN  คือ 7- 20 มิลลิกรัม/เดซิลิตร(mg/dL) หรือ 2.5-7.1 มิลลิโมล/ลิตร(mmol/L)

BUN to Creatinine ratio(BUN:Creatinine ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างค่า BUN และค่าCreatinine(ย่อว่า Cr)ในเลือด ซึ่งสารทั้ง2ตัวคือ สารที่ใช้บอกการทำงานของไต แต่ BUNจะถูกไตดูดกลับจากปัสสาวะเข้าสู่กระแสเลือดได้ ค่านี้จึงเปลี่ยนสูงขึ้นหรือต่ำลงได้จากการทำงานของตัวเนื้อเยื่อไต แต่ไตจะไม่สามารถดูดกลับ Cr จากปัสสาวะได้ ดังนั้น อัตราส่วนของ BUN:Cr จึงช่วยคัดกรองได้ว่า อาการโรคที่เกิดขึ้น เกิดจากการเสียหายของเนื้อเยื่อไต/Intrarenal factor (เช่น ไตอักเสบ) หรือเกิดจากปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้ไตทำงานผิดปกติ/Pre renal factor(เช่น ภาวะขาดน้ำ, ภาวะไตขาดเลือด เช่นจาก ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือจากความดันโลหิตต่ำ) โดย BUN:Cr ratio ปกติคือ 10-20:1, ถ้ามากกว่า 20:1 พยาธิสภาพจะเป็นPrerenal factor, ถ้าน้อยกว่า 10:1 พยาธิสภาพจะเป็นที่ไตเอง

  • Creatinineย่อว่า Cr เป็นสารปลายทางที่ได้จากการสลายของสาร Creatine phosphateที่เป็นสารเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งสาร Cr จะถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะโดยการทำงานของไต ดังนั้นการทราบค่าสารนี้ในเลือดหรือในบางครั้งในปัสสาวะจึงใช้เป็นตัวบอกประสิทธิภาพในการทำงานของไต

ค่าปกติของ Cr ในเลือดคือ 0.5 – 1.0 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (mg/dL) สำหรับผู้หญิง และ 0.7 – 1.2 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ชาย ซึ่งในผู้ชายค่า Cr จะสูงกว่าในผู้หญิงเนื่องจากผู้ชายมีมวลกล้ามเนื้อที่เป็นต้นกำเนิดของสาร Creatine phosphate มากกว่า

ค่า Cr ในเลือดที่สูงมากกว่าปกติ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น ภาวะขาดน้ำ โรคไต

โรคกล้ามเนื้อ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคความดันโลหิตสูง

กรณีค่า Cr ที่ต่ำกว่าปกติ อาจมีสาเหตุจากภาวะทุโภชนาที่ทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง/กล้ามเนื้อฝ่อลีบ หรือจากโรคกล้ามเนื้อ หรือโรคทางระบบประสาทที่มีผลให้มวลกล้ามเนื้อฝ่อลีบลง

  • GFR อัตราการกรองของไต(Glomerular filtration rate ย่อว่า จีเอฟอาร์/GFR) หรือ หรืออีกชื่อคือ Estimated GFR ย่อว่า eGFR คือ ตัวบอกประสิทธิภาพการทำงานของไต/อัตราการกรองของเสียของไต ที่แม่นยำ

ค่าการกรองของไตของคนปกติ  คือ ค่าที่สูงกว่า 60 mL/min/1.73 m2/พื้นที่ผิวร่างกาย

การรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน

การกำจัดของเสียที่สะสมในร่างกายเพื่อให้เหลืออยู่ในเกณฑ์ที่เนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆสามารถทำงานได้อย่างใกล้เคียงปกติที่สุด

  • การรักษาสาเหตุ
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนไต

การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย คือ การล้างไต/การฟอกไต และการควบคุมอา หารและของบริโภคต่างๆ (อาหารสำหรับโรคไต) เพื่อลดอัตราการสะสมของของเสีย

การรักษาควบคุมสาเหตุ การรักษาควบคุมสาเหตุ

การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน การให้ยาแก้คัน ตามอาการที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ เป็นต้น

การผ่าตัดเปลี่ยนไต แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนไต เมื่อไตไม่สามารถทำงานได้อีกแล้ว ซึ่งในระยะนี้ ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้จากการล้างไต/ฟอกไตเท่านั้น

การบำบัดโรคไต โดย Herbezyme

หากพิจารณาจากสาเหตุของการเกิดโรคไตทั้งหมด เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันสูง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ภูมิผิดปกติ โรคอ้วน รวมถึงการเผาผลาญที่ไม่สมบูรณ์ที่ส่งผลให้ Urea  Nitrogen สูง รวมถึง Creatinine สูงด้วย  ซึ่งอาการป่วยเหล่านี้เป็นผลพวงจากระบบเผาผลาญทั้งสิ้น  ดังนั้นการใช้ Herbenzyme  จะเข้าไปช่วยทำให้การเผาผลาญสมบูรณ์ ทั้งลดของเสียที่ต้นทางและบำบัดอาการโรคต้นทางที่กล่าวข้างต้นด้วย

หากพื้นที่ไตยังสามารถทำงานได้ การใช้ Herbenzyme จึงเท่ากับไปลดของเสียก่อนที่จะมาถึงที่ไต ทำให้ไตทำงานน้อยลง และกระบวนการฟื้นฟูก็สามารถค่อยฟื้นฟูกลับมาได้

ในกรณีที่พื้นไตเสียหายมากแล้ว ไม่สามารถทำการขจัดของเสียได้เพียงจนต้องฟอกไต ล้างไตช่วย การใช้ Herbenzyme จึงเป็นการช่วยประคับประคองคู่กับการล้างไตไปสักพัก ส่วนผสมที่เป็นเห็ดใน Herbenzyme  จะช่วยในการปรับสมดุลและฟื้นฟูไปในตัว แต่ต้องประคองควบคู่กันไปกับการล้างไต  ช่วงแรกการใช้ Herbenzyme ของเสียที่สะสมอาจจะออกมามากขึ้น การล้างไตช่วยจึงจะต้องมีการผสมผสานไปด้วยกัน

ทีมข่าว นสพ.ประชาไท 

ติดต่อโฆษณาที่ 061-939-1959